
จากวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต งานก่อสร้างพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ก่อสร้างตามตำนานเขาพระสุเมรุ งานช่างสิบหมู่ ความวิจิตรบรรจงศิลปะต่างสืบทอดมากว่าร้อยกว่าปี มาปรากฏต่อสายตาโลก พระเมรุมาศสร้างเสร็จและมีการส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยในวันที่ 26 ตุลาคม 2560
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วยอาคารทรงบุษบก จำนวน 9 องค์ ตั้งอยู่บนฐานชาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้น ทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าพระที่นั่งทรงธรรม ทิศตะวันออกติดตั้งลิฟต์ และทิศเหนือติดตั้งสะพานเกรินสำหรับเชิญพระบรมโกศจากราชรถปืนใหญ่ขึ้นบนพระเมรุมาศ โดยโครงสร้างพระเมรุมาศ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ลานอุตราวรรต หรือ พื้นรอบฐานพระเมรุมาศ มีสระอโนดาดทั้งสี่ทิศและเขามอจำลอง ภายในสระประดับด้วยประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ได้แก่ ช้าง โค สิงห์ ม้า และสัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ
ฐานชาลาชั้นที่ 1 เป็นชั้นล่างสุด มีฐานสิงห์เป็นรั้วราชวัตร ฉัตร แสดงอาณาเขตพระเมรุมาศ และมีเทวดานั่งคุกเข่าถือบังแทรก ส่วนที่มุมทั้งสี่ของฐานมีประติมากรรมท้าวจตุโลกบาลประทับยืนหันหน้าเข้าสู่บุษบกองค์ประธาน
ฐานชาลาชั้นที่ 2 มีหอเปลื้องทรงบุษบกรูปแบบเดียวกันตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่ ใช้สำหรับจัดเก็บพระโกศทองใหญ่และพระโกศไม้จันทน์ รวมถึงอุปกรณ์สำหรับงานพระราชพิธี
ฐานชาลาชั้นที่ 3 ฐานบุษบกประธานประดับประติมากรรมเทพชุมนุม จำนวน 132 องค์โดยรอบ รองรับด้วยฐานสิงห์ซึ่งประดับประติมากรรมครุฑยุดนาคโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มุมทั้งสี่ของฐานชั้นที่ 3 นี้ เป็นที่ตั้งของซ่างทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น ใช้สำหรับพระพิธีธรรม 4 สำรับ นั่งสวดอภิธรรมสลับกันไปตลอดนับตั้งแต่พระบรมศพประดิษฐานบนพระจิตกาธานจนกระทั่งถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จ
จุดกึ่งกลางชั้นบนสุด มีบุษบกองค์ประธานตั้งอยู่ เป็นอาคารทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ภายในมีพระจิตกาธาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมโกศ ผนังโดยรอบเปิดโล่ง ติดตั้งพระวิสูตร (ม่าน) และฉากบังเพลิงเขียนภาพพระนารายณ์อวตารตอนบน และภาพโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตอนล่าง ที่ยอดบนสุด ประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว 9 ชั้น)
มีสระอโนดาดทั้งสี่ทิศและเขามอจำลอง ภายในสระประดับด้วยประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ได้แก่ ช้าง โค สิงห์ ม้า และสัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ

สระอโนดาดทั้งสี่ทิศ

ช้าง โค สิงห์ ม้า และสัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ
สระอโนดาดทั้งสี่ทิศ
1 แต่งตัวสุขภาพ ตามความเหมาะสม ต้องนึกเสมอว่าพระเมรุมาศอยู่ในเขตพระราชฐาน ห้ามใส่ยีนส์ขาด ห้ามรองเท้าแตะ
2 อย่าลืมบัตรประชาชน และจุดคัดกรองประชาชน 3 จุด คือ พระแม่ธรณี บีบมวยผม ตรงวงเวียน รด และท่าช้าง (เป็นจุดคนไม่เยอะแต่ เดินไกล)
3 ห้ามนำเครื่องดื่มอาหารเข้า
4 ถ่ายรูปแบบมีสติ ห้ามใช้ไม้เซลฟี่ ห้ามlive สด ห้ามแตะ ดูแบบชื่นชมน่ะค่ะ
5 การชื่นชมดูรอบละ 1 ชั่วโมง เราต้องนึกถึงเพื่อนที่รออย
6 เปิดให้ชม 7.00-22.00 และวันเสาร์ อาทิตย์ จะมีโขนแสดงในช่วงเย็น
7 สำหรับคนรักการถ่ายภาพอนุญา
8 แนะนำการชม ต้องบริหารเวลาให้ดี

เทพชุมนุม 132 องค์ ประดับรอบฐานพระเมรุมาศ

ท้าวจคุโลกบาล 4 องค์

ท้าวจคุโลกบาล 4 องค์

ฉากบังเพลิง

งานเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประกอบเกสรชั้นในของดอกปาริชาติ ประกอบด้วย ดอกไม้ไหว 2 ดอก ดอกไม้เฟื่อง 2 ดอก ซึ่งเกสรชั้นในนี้เรียกว่า นพรัตน์ 9 ดวง ประกอบด้วยอัญมณี 9 ชนิด ได้แก่ เพชรน้ำหนัก 2 สตางค์ ล้อมรอบด้วยทับทิม บุษราคัม มรกต มุกดา นิล โกเมน เพทาย และไพฑูรย์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำ

ดอกปาริชาต

ดอกปาริชาติ เชื่อว่าเมื่อได้ดมกลิ่มจะระลึกชาติได้

จำลองโต๊ะทำงานของพ่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาล ที่9 ต้ังในศาลาทรงธรรม

คุณทองแดง กับ คุณโจโฉ
ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแ